วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558

การเรียนรู้แบบเรียนรวม

http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10 ได้รวบรวมไว้ว่า การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ จะต้องถือหลักการดังนี้
เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

                ฉวีวรรณ โยคิน (http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177) การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก นั่น คือ การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง (Wilson , Kliewer, East, 2007) จากความหมายดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก การเรียนรวมยังแบ่งออกเป็นการเรียนเต็มเวลา และการเรียนรวมบางเวลา การเรียนรวมเต็มเวลา (Full Inclusion) หมายถึง การให้เข้าเรียนในชั้นเรียนรวมตลอดทั้งวันเช่นเดียวกับการมาโรงเรียนตามปกติของนักเรียนทั้งหลาย การเรียนรวมบางเวลา (Partial Inclusion) หมายถึง การให้เด็กเข้าเรียนในชั้นเรียนรวมในบางชั่วโมงของ 1 วัน หรือ บางชั่วโมงของเวลาเรียนใน 1 สัปดาห์ เป็นการเข้าเรียนไม่เต็มเวลาของการเรียนปกติ

                http://web.nrru.ac.th/web/special_edu/1-1.html ได้รวบรวมไว้ว่า ในระบบการจัดการศึกษาแต่เดิมจะจัดรูปแบบเดียว คือ การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education) ซึ่งแต่เดิมไม่ได้มีคนคำนึงถึงเด็กพิการหรือเด็กที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ในระบบปกติทั่วไป แต่ต่อมามีกลุ่มเด็กพิการที่นักการศึกษาเห็นว่าสามารถให้การศึกษาได้ จึงได้จัดเป็นโรงเรียนพิเศษเฉพาะความพิการให้กับกลุ่มเด็กพิการเหล่านั้น จึงได้มีกำเนิดการศึกษาพิเศษ (Special Education) ขึ้น เมื่อจัดการศึกษาพอเศษให้เป็นระยะเวลาหนึ่ง มีกลุ่มนักการศึกษาได้พิจารณาเห็นว่า เด็กพิการกลุ่มหนึ่งสามารถพัฒนาได้มาก ได้มีการทดลองให้เด็กพิการเข้าไปเรียนร่วมในโรงเรียนทั่วไป และเกิดวิธีการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม เรียกว่า การเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
                 จากคำจำกัดความของการเรียนร่วมและแนวทางการจัดการเรียนร่วมนี้ มีประเด็นสาระสำคัญอยู่ 2 ประเด็ก คือ
                ข้อที่ 1 โรงเรียนการศึกษาพิเศษ ต้องเตรียมเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้พร้อมที่จะเข้าเรียนร่วมได้ หมายถึง เด็กจะต้องมีพัฒนาการเท่าเทียมกับเด็กปกติทั่วไปทุกประการจึงจะได้รับโอกาสให้เข้าเรียนร่วมโดยทางโรงเรียนจะมองว่า เด็กมีปัญหาจึงต้องปรับและเตรียมที่เด็ก
ข้อที่ 2 โรงเรียนและชั้นเรียนปกติทั่วไปไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน หลักสูตร เทคนิคการสอน การประเมิน ฯลฯ โรงเรียนเพียงแต่จัดบริการสนับสนุนช่วยเหลือเพิ่มเติม ฉะนั้นหากเด็กได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่ผู้บริการและครูเข้าใจก็๗ะได้รับโอกาสให้เข้าเรียนร่วมและได้รับการสนับสนุน แต่หากเด็กไปเข้าเรียนในโรงเรียนที่ผู้บริหารและครูไม่เข้าใจ เด็กก็จะขาดโอกาสที่จะไดรับการสนับสนุนช่วยเหลือให้สามารถเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ได้สูง
                การศึกษาแบบเรียนรวม คือ การศึกษาสำหรับทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล และยังให้คำจำกัดคามเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสื่อสารกับประเทศต่างๆ ไว้ดังนี้ "Inclusive Education is Education for all, It involves receiving people at the beginning of their education, with provision of additional services needed by each individual"

                สรุป
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการจัดการศึกษาภายใต้ปรัชญาที่เห็นทุกคนมีค่าเท่าเทียมกัน  ทุกคนควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน  เด็กทุกคนสามารถเรียนร่วมกันได้  โรงเรียนต้องรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดพิการเด็กคนใดปกติเด็กทุกคนจะเรียนด้วยกัน  ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโดยไม่มีการแบ่งแยก  โรงเรียนจะมีการเตรียมครู  การจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเรียน  การจัดสื่อ  สิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่เด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างทั่วถึง

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/pannida/2012/11/12/entry-10. การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม. เข้าถึงเมื่อ 6 กันยายน 2558.
ฉวีวรรณ โยคิน. [Online]. (http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177). การศึกษาแบบเรียนรวม. เข้าถึงเมื่อ 6 กันยายน 2558 .
http://web.nrru.ac.th/web/special_edu/1-1.htmlความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษาแบบเรียนรวม.  เข้าถึงเมื่อ 6 กันยายน 2558.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น